อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
 
ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด

ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร
ชื่อพันธุ์ไม้ บุนนาค
ชื่อสามัญ Iron Wood, Indian Rose Chestnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea Linn.
วงศ์ OUTTIFERAE
ชื่ออื่น ก๊าก่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ก้ำกอ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บุนนาค (ทั่วไป), ปะนาคอ (มลายู-ปัตตานี, สารภีดอย (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 15–25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์ต่ำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปไข่ยาวเรียวแคบ ขอบใบเรียบ ท้องใบสีขาวนวลอมเทาเป็นมันคล้ายใบมะปราง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบและมีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้เป็นฝอยสีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นรูปไข่ เปลือกแข็ง
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนปนทราย และดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามป่าทั่วไป

 

ดอกไม้ประจำจังหวัดพิจิตร
ชื่อพันธุ์ไม้ ดอกบัวหลวง
ชื่อสามัญ Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn
วงศ์ NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปเอเซีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย